Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ กีฬาตะกร้อ

ประโยชน์ กีฬาตะกร้อ เป็นกีฬาที่เล่นได้ง่ายและเล่นได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เป็นกีฬาที่มีอุปกรณ์การเล่นราคาถูก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ท าให้ว่องไวปราดเปรียว เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจ ให้รู้จักการตัดสินใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ และมีปฏิภาณไหวพริบดี เป็นกีฬาที่ส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีวงสังคมกว้างขวาง เป็นกีฬาที่มีความปลอดภัยมากกว่าการเล่นกีฬาประเภทอื่น

Read More »

กฎ กติกา กีฬาตะกร้อ กฎข้อห้ามมีอะไรบ้าง

กฎ กติกา กีฬาตะกร้อ การแข่งขัน กีฬาเซปักตะกร้อ ทางด้านของนักกีฬาทั้ง 2 ทีม ควรปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดบทลงโทษอื่นๆ ตามมา สำหรับบทความนี้ทางเราจะพาทุกคนมาเรียนรู้ถึงกฎข้อห้าม หรือการทำผิด กติกาตะกร้อ ในการแข่งขันกีฬาดังกล่าว โดยมีดังต่อไปนี้ 1.การทำผิด กติกาตะกร้อ ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ กฎ

Read More »

วิธีการเล่น กีฬาตะกร้อ

  วิธีการเล่น กีฬาตะกร้อ ตะกร้อเป็นกีฬาไทยที่เล่น กันแพร่หลายมานานนับศตวรรษ ไม่ว่าจะเป็นตามชนบท ในวัด ในวัง ในเมือง จะพบเห็นการเล่นตะกร้อเสมอ เพราะตะกร้อไม่ต้องใช้บริเวณพื้นที่กว้างขวางเหมือนกีฬาประเภทอื่น ๆ อุปกรณ์ก็หาได้ง่าย ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำกัดรูปร่าง เพศหรือวัย

Read More »

กฎ กติกา กีฬาตะกร้อ กฎข้อห้ามมีอะไรบ้าง

กฎ กติกา กีฬาตะกร้อ การแข่งขัน กีฬาเซปักตะกร้อ ทางด้านของนักกีฬาทั้ง 2 ทีม ควรปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดบทลงโทษอื่นๆ ตามมา สำหรับบทความนี้ทางเราจะพาทุกคนมาเรียนรู้ถึงกฎข้อห้าม หรือการทำผิด กติกาตะกร้อ ในการแข่งขันกีฬาดังกล่าว โดยมีดังต่อไปนี้

1.การทำผิด กติกาตะกร้อ ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ กฎ กติกา กีฬาตะกร้อ

  • กฎ กติกา กีฬาตะกร้อ เมื่อทางกรรมการกล่าวคะแนนเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ห้ามผู้เล่นกระทำสิ่งอื่นใดกับลูกตะกร้อเป็นอันขาด ไม่ว่าจะเป็น การโยนลูกเล่น หรือจะเป็นการโยนลูกให้เพื่อน รวมไปถึงการเคาะลูกด้วยเช่นกัน
  • ผู้เล่นด้านหน้าควรหลีกเลี่ยงการใช้เท้าเหยียบเส้นข้าง เส้นกลาง และการข้ามเส้น แถมต้องระวังไม่ให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งสัมผัสตาข่ายในขณะส่งลูก
  • หลังจากเริ่มต้นการเสิร์ฟลูกแล้ว ห้ามไม่ให้ลูกตะกร้อสัมผัสกับบรรดาผู้เล่นในทีมตัวเอง เพราะต้องให้ข้ามไปฝั่งตรงข้ามก่อน โดยหากสัมผัสกับทีมตัวเองก่อนจะถือว่าเป็นการทำผิดกติกาในทันที
  • เมื่อเสิร์ฟลูกตะกร้อข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามเรียบร้อยแล้ว แต่ปรากฏว่าดันไปตกอยู่บริเวณนอกเขตสนาม เป็นอีกสิ่งที่ทางผู้เสิร์ฟควรระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้น
  • เสิร์ฟลูกตะกร้อไปยังฝ่ายตรงข้าม แต่ปรากฏว่าตกลงในเขตแดนของทีมตัวเอง เท่ากับว่าเป็นการทำผิดกติกาเช่นเดียวกัน
  • ห้ามผู้เล่นใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของมือหรือแขน เพื่อช่วยเตะลูกตะกร้อโดยเด็ดขาด แม้ว่าบางครั้งผู้เล่นอาจจะไม่ได้ตั้งใจกระทำก็ตาม
  • ทางด้านของผู้เสิร์ฟลูกทำการส่งลูก ก่อนกรรมการจะกล่าวคะแนน ซึ่งเป็นการกระทำผิดซ้ำจากครั้งแรก

2.การทำผิดกติกาตะกร้อของผู้เล่นทั้งสองฝ่ายในระหว่างการแข่งขัน

  • ผู้เล่นห้ามข้ามเขตแดนไปสัมผัสลูกตะกร้อในฝ่ายตรงข้าม สามารถสัมผัสลูกได้เฉพาะภายในเขตแดนของทีมตัวเองเท่านั้น
  • ห้ามให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งล้ำไปยังเขตตรงข้ามเป็นอันขาด ไม่ว่าจะเป็นส่วนบนหรือส่วนล่างของตาข่ายก็ตาม เว้นแต่การเล่นลูกต่อเนื่อง หรือเรียกอีกอย่างว่า “Follow Through”
  • ผู้เล่นสามารถเตะลูกตระกร้อได้ไม่เกิน 3 ครั้งเท่านั้น รวมถึงต้องระวังไม่ให้มือและแขนสัมผัสลูกแม้แต่น้อย
  • ควรควบคุมการเล่นอย่างระมัดระวัง ไม่เตะสูงจนกระทั่งลูกตะกร้อสัมผัสกับเพดาน ฝาผนัง รวมไปถึงสิ่งกีดขวางต่างๆ

3.การทำผิดกติกาของผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟและผู้เล่นฝ่ายรับ

ห้ามผู้เล่นของทั้ง 2 ฝ่าย กระทำอันใดก็ตามซึ่งเป็นการก่อกวนให้เกิดความรำคาญ และเสียสมาธิในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น การตะโกนเสียงดังโวยวาย การกล่าววาจาด่าทอทีมคู่แข่ง หรือแม้แต่การใช้ความรุนแรงในระหว่างการแข่งขัน เนื่องจากถือว่าเป็นการกระทำผิดกติกาขั้นร้ายแรง จะต้องรับบทลงโทษในเวลาต่อมาอย่างแน่นอน

กติกาการเล่น

  1. ผู้เล่น
    • ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน
  2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
    1. หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
    2. หน้าซ้าย
    3. หน้าขวา
  3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
    • ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้
  4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
    • มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน
  5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
    • เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
  6. การเปลี่ยนส่ง
    1. ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้
  7. การขอเวลานอก ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที
  8. การนับคะแนน
    • การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที กฎ กติกา กีฬาตะกร้อ