Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ กีฬาตะกร้อ

ประโยชน์ กีฬาตะกร้อ เป็นกีฬาที่เล่นได้ง่ายและเล่นได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เป็นกีฬาที่มีอุปกรณ์การเล่นราคาถูก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ท าให้ว่องไวปราดเปรียว เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจ ให้รู้จักการตัดสินใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ และมีปฏิภาณไหวพริบดี เป็นกีฬาที่ส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีวงสังคมกว้างขวาง เป็นกีฬาที่มีความปลอดภัยมากกว่าการเล่นกีฬาประเภทอื่น

Read More »

กฎ กติกา กีฬาตะกร้อ กฎข้อห้ามมีอะไรบ้าง

กฎ กติกา กีฬาตะกร้อ การแข่งขัน กีฬาเซปักตะกร้อ ทางด้านของนักกีฬาทั้ง 2 ทีม ควรปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดบทลงโทษอื่นๆ ตามมา สำหรับบทความนี้ทางเราจะพาทุกคนมาเรียนรู้ถึงกฎข้อห้าม หรือการทำผิด กติกาตะกร้อ ในการแข่งขันกีฬาดังกล่าว โดยมีดังต่อไปนี้ 1.การทำผิด กติกาตะกร้อ ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ กฎ

Read More »

วิธีการเล่น กีฬาตะกร้อ

  วิธีการเล่น กีฬาตะกร้อ ตะกร้อเป็นกีฬาไทยที่เล่น กันแพร่หลายมานานนับศตวรรษ ไม่ว่าจะเป็นตามชนบท ในวัด ในวัง ในเมือง จะพบเห็นการเล่นตะกร้อเสมอ เพราะตะกร้อไม่ต้องใช้บริเวณพื้นที่กว้างขวางเหมือนกีฬาประเภทอื่น ๆ อุปกรณ์ก็หาได้ง่าย ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำกัดรูปร่าง เพศหรือวัย

Read More »

ประโยชน์ กีฬาตะกร้อ

  1. ประโยชน์ กีฬาตะกร้อ เป็นกีฬาที่เล่นได้ง่ายและเล่นได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
  2. เป็นกีฬาที่มีอุปกรณ์การเล่นราคาถูก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
  3. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ท าให้ว่องไวปราดเปรียว
  4. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจ ให้รู้จักการตัดสินใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ และมีปฏิภาณไหวพริบดี
  5. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีวงสังคมกว้างขวาง
  6. เป็นกีฬาที่มีความปลอดภัยมากกว่าการเล่นกีฬาประเภทอื่น
  7. เป็นกีฬาที่ได้ชื่อว่าช่วยรักษาอนุรักษ์กีฬาประจำชาติไทย

และรังสฤษฏ์ บุญชลอ (2543 : 10) ได้สรุปความสำคัญของการเล่นกีฬาตะกร้อไว้ กว้างๆ ดังนี้

  1. เป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพ ทางด้านร่างกาย และจิตใจ
  2. เป็นกีฬาที่ประหยัดค่าใช้จ่าย เล่นง่าย กติกา และระเบียบ การแข่งขันไม่เคร่งครัด
  3. เป็นกีฬาที่ไม่จำกัดเวลา และสถานที่ กฎ กติกา กีฬาตะกร้อ
  4. เป็นกีฬาที่กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว ว่องไว เสริมสร้างบุคลิกภาพ
  5. เป็นกีฬาที่เสริมสร้างอารมณ์ ความคิด และจิตใจให้มีความสุขุม รอบคอบ เยือกเย็น
  6. เป็นกีฬาที่ช่วยให้ระบบประสาททำงานประสานกับระบบอื่นๆได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
  7. เป็นกีฬาที่เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และสังคมรวมทั้งเป็นสื่อกลางใน การเข้าสังคม และพัฒนาชุมชนทางด้านสุขภาพและพลานามัย
  8. เป็นกีฬาที่ใช้เป็นแนวทาง หรือทักษะพื้นฐานอันนำไปสู่การเล่นกีฬาชนิดอื่นๆได้ เช่น ฟุตบอล
  9. เป็นกีฬาที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ประจำชาติ ที่ดีงามให้คงไว้
  10. เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความสามารถด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งทักษะที่สูงมากสำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นเลิศทางด้านกีฬาตะกร้อ ถ้าผู้เล่นมีความตั้งใจใช้ ความเพียรพยายามที่ดีอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ สร้างชื่อเสียง เกียรติประวัติให้กับ ตนเอง สังคม และประเทศชาติได้

ประวัติกีฬาเซปักตะกร้อ ประโยชน์ กีฬาตะกร้อ

ประโยชน์ กีฬาตะกร้อ ต้องบอกว่ากีฬาชนิดนี้ไมสามารถหาหลักฐานต้นกำเนิดที่ชัดเจนได้ รู้เพียงแต่ว่าจุดเริ่มต้นมาจากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น เพราะประเทศที่มีความสามารถในการเล่นทั้งไทย, มาเลเซีย, พม่า ต่างก็บอกว่าตนเองคือต้นตำรับแห่งการเล่นกีฬาตะกร้อ แต่ถ้าหากเป็นประวัติในเมืองไทยคาดกันว่าน่าจะเริ่มตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต้น ในอดีตไม่ได้มีการจำกัดจำนวนคนเล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ส่วนประเทศพม่าเมื่อราวปี 2310 มีการตั้งค่ายบริเวณโพธิ์สามต้น ทำให้เกิดการเล่นกีฬาชนิดนี้ขึ้นให้ชื่อว่า ชิงลง ขณะที่มาเลเซียได้มีการประกาศกร้าวออกมาว่ากีฬาตะกร้อนี้เป็นกีฬาพื้นเมืองของชาวมลายูเรียกว่า Sepak raga หมายถึง ตะกร้า ฝั่งฟิลิปปินส์นิยมเล่นด้วยเหมือนกันโดยใช้ชื่อว่า Sipak นั่นทำให้ไม่สามารถหาหลักฐานชัดเจนของกีฬาชนิดนี้ได้แน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดจากอะไร กระนั้นกีฬาเซปักตะกร้อค่อยๆ พัฒนามากขึ้นจนมีการตั้งกติกามาตรฐานสากลให้ทุกๆ ชาติที่เล่นกีฬาประเภทนี้ได้ปฏิบัติตรงกันจนกลายเป็นกีฬายอดนิยมอันดับต้นๆ ของคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปโดยปริยาย

กติกาพื้นฐานการเล่นเซปักตะกร้อ

  • สนามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 13.4 ม. กว้าง 6.1 ม. พื้นปูด้วยพลาสติก แบ่งเขตแดนเป็น 2 ส่วนขนาดเท่ากัน มีจุดยืนฝั่งละ 3 จุด คือมุมตาขาย 2 ข้าง และ จุดวงกลมตรงกลางสำหรับคนเสิร์ฟ 1 จุด โดยจุดตรงกลางเรียกว่า Back ส่วนคนยืน 2 ข้างเรียกว่า หน้าซ้าย หน้าขวา วิธีการเล่น กีฬาตะกร้อ
  • ตาขายของเซปักตะกร้อกว้าง 70 ซม. ยาวไม่เกิน 6.1 ม. ของผู้ชายสูง 1.52 ม. ผู้หญิงสูง 1.42 ม.
  • ลูกเซปักตะกร้อสมัยใหม่ทำจากพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42-45 ม. มีรูตรงกลางรวม 12 รู จุดตัดไขว้ 20 จุด
  • แต่เดิมกีฬาเซปักตะกร้อจะเล่นกัน 3 คน แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มตะกร้อ 2 คนและตะกร้อลอดห่วงขึ้นมาเพื่อให้สนุกสนานและเป็นการเพิ่มจำนวนเหรียญในการแข่งขันกีฬา
  • การเล่นฝ่ายทีเสิร์ฟต้องเสิร์ฟให้ข้ามตาข่ายไปยังฝั่งตรงข้าม ในการเล่น 1 ครั้งเพื่อเอาแต้มจะเล่นได้ไม่เกิน 3 จังหวะ หากจังหวะ 3 ลูกยังไม่ข้ามไปแดนฝ่ายตรงข้ามถือว่าเสียแต้มทันที โดยการนับคะแนนจะนับทีละ 1 คะแนน ไปเรื่อยๆ
  • การเล่นเซปักตะกร้อจะคิดเกมละ 15 คะแนน โดยต้องเอาชนะให้ได้ 2 ใน 3 เกม กรณีแต้ม 14 เท่ากันต้องหาผู้ชนะโดยคะแนนแต้มห่าง 2 แต้ม แต่แต้มสูงสุดต้องไม่เกิน 17 แต้ม หากใครถึง 17 แต้มก่อนคือผู้ชนะ

หน้าที่พื้นฐานของแต่ละตำแหน่งในการเล่นเซปักตะกร้อ

เราเข้าใจกันว่าหน้าที่ของคนเล่นเซปักตะกร้อก็เหมือนๆ กันคือพยายามเสิร์ฟลูกให้ฝ่ายตรงข้ามรับยาก รับลูกฝ่ายตรงข้ามตบมาให้ได้ ตั้งแล้วชงให้ตบ แต่จริงๆ หน้าที่ของแต่ละตำแหน่งที่หลักๆ จะรู้ตนเองกันอยู่แล้ว

  • ตำแหน่ง Back หรือคนเสิร์ฟ หน้าที่หลักคือการเสิร์ฟโดยต้องเสิร์ฟให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากที่สุด
  • หน้าซ้ายและหน้าขวา อันนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดว่าใครพื้นฐานดีก็ให้ชงส่วนใครลีลาดีให้เป็นตัวตบทำคะแนน ประโยชน์ กีฬาตะกร้อ