Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

กีฬาตะกร้อในประเทศจีนเรียกว่าอะไร

กีฬาตะกร้อในประเทศจีนเรียกว่าอะไร เซปักตะกร้อ เป็นกีฬาพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[4] เซปักตะกร้อแตกต่างจากกีฬาที่คล้ายกันของฟุตวอลเลย์ โดยใช้ลูกที่ทำจากหวายและอนุญาตให้ผู้เล่นใช้เท้า, เข่า, หน้าอก และศีรษะเพื่อสัมผัสลูก ประโยชน์ของกีฬาตะกร้อ กีฬาตะกร้อในประเทศจีนเรียกว่าอะไร กีฬาตะกร้อในประเทศจีนเรียกว่าอะไร เป็นกีฬาที่เล่นได้ง่ายและเล่นได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เป็นกีฬาที่มีอุปกรณ์การเล่นราคาถูก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย

Read More »

กีฬาตะกร้อ หมายถึง

กีฬาตะกร้อ หมายถึง ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้ รายได้เสริมทำออนไลด์ผ่าน net 100% รายได้ 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ สมัครที่ www.abc.321.cn

Read More »

กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาประจําชาติใด

กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาประจําชาติใด เซปักตะกร้อ เป็นกีฬาพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เซปักตะกร้อแตกต่างจากกีฬาที่คล้ายกันของฟุตวอลเลย์ โดยใช้ลูกที่ทำจากหวายและอนุญาตให้ผู้เล่นใช้เท้า, เข่า, หน้าอก และศีรษะเพื่อสัมผัสลูก กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาประจําชาติใด ศัพทมูลวิทยา กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาประจําชาติใด เซปักตะกร้อ มาจากคำสองคำ คำแรก “เซปัก”

Read More »

กีฬาตะกร้อในประเทศจีนเรียกว่าอะไร

กีฬาตะกร้อในประเทศจีนเรียกว่าอะไร เซปักตะกร้อ เป็นกีฬาพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[4] เซปักตะกร้อแตกต่างจากกีฬาที่คล้ายกันของฟุตวอลเลย์ โดยใช้ลูกที่ทำจากหวายและอนุญาตให้ผู้เล่นใช้เท้า, เข่า, หน้าอก และศีรษะเพื่อสัมผัสลูก

ประโยชน์ของกีฬาตะกร้อ กีฬาตะกร้อในประเทศจีนเรียกว่าอะไร

  1. กีฬาตะกร้อในประเทศจีนเรียกว่าอะไร เป็นกีฬาที่เล่นได้ง่ายและเล่นได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
  2. เป็นกีฬาที่มีอุปกรณ์การเล่นราคาถูก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
  3. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ท าให้ว่องไวปราดเปรียว
  4. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจ ให้รู้จักการตัดสินใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ และมีปฏิภาณไหวพริบดี
  5. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีวงสังคมกว้างขวาง
  6. เป็นกีฬาที่มีความปลอดภัยมากกว่าการเล่นกีฬาประเภทอื่น
  7. เป็นกีฬาที่ได้ชื่อว่าช่วยรักษาอนุรักษ์กีฬาประจำชาติไทย

มารยาทในการเล่นเซปักตะกร้อ

การเล่นกีฬาทุกชนิด ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่นควรต้องมีมารยาทดังนี้ คือ

  1. การแสดงความยินดี ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจเมื่อตนเอง หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน ตลอดจนปรับปรุงการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้น
  2. การเล่นอย่างสุขภาพและเล่นอย่างนักกีฬา การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องใหแหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี.
  3. ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นเล่นโดยพลการ
  4. ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป.
  5. ผู้เล่นต้องเชื่อฟังงคำตัดสินของกรรมการ หากไม่พอใจคำตัดสินก็นยืนประท้วงตามกติกา.
  6. ผ็เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา.
  7. ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือแสดงความยินดี.
  8. หากมีการเล่นผิดพลาด จะต้องกล่าวคำของโทษทันทีและต้องกล่วาให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้ามกล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส.
  9. ต้องแต่งตัวรัดกุม สุภาพ ถูกต้องตามกติกาท่กำหนดไว้.
  10. ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทำให้ฟังเล่นอื่นเกิดความรำคาญ.
  11. ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด
  12. มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น
  13. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
  14. เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา

กติกาการเล่น

  1. ผู้เล่นประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน
  2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
    1. หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
    2. หน้าซ้าย
    3. หน้าขวา
  3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้
  4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน
  5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
  6. การเปลี่ยนส่ง ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้
  7. การขอเวลานอก ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที
  8. การนับคะแนนการแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที

ประเภทของกีฬาตะกร้อ ปัจจุบันมีอยู่ 8 ประการด้วยกันคือ

  1. ตะกร้อวงเล็ก
  2. ตะกร้อวงใหญ่
  3. ตะกร้อเตะทน
  4. ตะกร้อพลิกแพลง
  5. ตะกร้อชิงธง
  6. ตะกร้อลอดห่วง
  7. ตะกร้อข้ามตาข่าย
  8. เซปัก – ตะกร้อ

การอบอุ่นร่างกาย

  1. ทำให้การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อกับประสาทเป็นไปด้วยความราบรื่น
  2. เพิ่มอุณหภูมิในกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  3. ปรับการหายใจและการไหลเวียนของโลหิตให้คงที่

ท่ากายบริหารกล้ามเนื้อเพื่ออบอุ่นร่างกาย

  1. วิ่งเหยาะ ๆ ประมาณ 10-15 นาที
  2. วิ่งเร็ว 50 เมตร
  3. วิ่งซิกแซก 10 เมตร ให้ทำอย่างเร็ว
  4. กระโดดเข่าตีหน้าอก 10 ครั้งติดต่อกัน
  5. กระโดดข้ามหลังเพื่อน แล้วลอดใต้ขา 10-20 ครั้ง
  6. กระโดดแอ่นหลัง โดยกระโดดให้สูง ทำติดต่อกัน 10 ครั้ง
  7. เตะขาให้สูง เท้าเหยียดตรง เตะสลับกัน ซ้าย 20 ครั้ง ขวา 20 ครั้ง
  8. ทำ Sit-Up 10-20 ครั้ง
  9. ทำ Push – Up 10-20 ครั้ง
  10. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุกส่วนของข้อต่อ เช่น ข้อศอก หัวไหล่ ขา สะโพก คอ ข้อเท้า ข้อมือ โดยยืด-เหยียดออกให้สุดการเคลื่อนไหว
    ทักษะพื้นฐานการเล่นตะกร้อ

วิธีการเล่นตระกร้อ

ตะกร้อเป็นกีฬาไทยที่เล่น กันแพร่หลายมานานนับศตวรรษ ไม่ว่าจะเป็นตามชนบท ในวัด ในวัง ในเมือง จะพบเห็นการเล่นตะกร้อเสมอ เพราะตะกร้อไม่ต้องใช้บริเวณพื้นที่กว้างขวางเหมือนกีฬาประเภทอื่น ๆ อุปกรณ์ก็หาได้ง่าย ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำกัดรูปร่าง เพศหรือวัย ตลอดจนไม่จะกัดผู้เล่นตายตัว อาจยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมการเล่นตะกร้อจึงได้รับความนิยมตลอดมาซึ่งผู้ เล่นจะได้รับประโยชน์จากการเล่นทั้งทางตรงและทางอ้อมนับอเนกประการดังนี้

  1. ตะกร้อเป็นกีฬาที่ประหยัด ลงทุนน้อยแต่เล่นได้หลายคน คุ้มค่าเงิน สามารถร่วมทุนกันคนละเล็กละน้อยหรือผลัดกันซื้อก็ได้ ทั้งลูกตะกร้อก็มีความทนทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารู้จักใช้และรู้จักเก็บรักษาให้ดี
  2. การเล่นตะกร้อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำ ให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสและที่สำคัญผู้ที่เล่นตะกร้อยังได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่ง ที่ส่งเสริมกีฬาศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติอีกด้วย
  3. การเล่นตะกร้อยังเป็นพื้นฐานของการเล่นกีฬาปะเภทอื่นได้เป็นอย่างดี เพราะ ทำให้ผู้เล่นรู้จักวิธีการครอบครองลูก รู้จังหวะเข้าออก จังหวะการเตะ โดยให้มีความสัมพันธ์ระหว่างมือ เท้า อวัยวะต่างๆ ได้เคลื่อนไหวสอดคล้องกัน สร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดความแข็งแรงและความอดทนอีกด้วย
  4. การเล่นตะกร้อสามารถเล่นคนเดียวก็ได้ หรือ ถ้ามีผู้เล่นมากขึ้นก็สามารถปรับการเล่นได้ตามความเหมาะสม อันตรายจากการเล่นตะกร้อนั้นมีน้อยมาก เพราะจะไม่มีการปะทะหรือถูกต้องตัวกันระหว่างผู้เล่นด้วยกันเอง หรือแม้แต่อุปกรณ์การเล่น ก็มิได้ทำให้เกิดอันตราย ถ้าผู้เล่นรู้จักสังเกตว่ามีอุปกรณ์ใดชำรุดก็ปรับเปลี่ยนหรือซ่อมแซมให้ พร้อมก่อนที่จะเล่น การเคลื่อน ที่ด้วยความระมัดระวังก็จะทำให้เกิดการหกล้มเสียหลักได้ยาก และการเล่นตะกร้อนั้นสามารถใช้อวัยวะได้หลายส่วน ทำให้ไม่เกิดการบอบช้ำเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอีกด้วย
  5. การเล่นตะกร้อ เป็นการฝึกให้เกิดความคล่องแคล่วว่องไว ปราดเปรียว เพราะ ต้องมีความระมัดระวังตัวและเตรียมตัวพร้อมที่จะเข้าเล่นลูกในลักษณะต่างๆ อยู่ตลอดเวลา การเคลื่อนไหวก็ต้องกระทำด้วยความรวดเร็วกระฉับกระเฉง เพื่อให้ทันกับจังหวะที่จะเล่นลูก
  6. การเล่นตะกร้อเป็นการฝึกให้เป็นผู้ที่มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุม รอบคอบ เพราะ การเล่นหรือการเตะลูกแต่ละครั้งจะต้องอาศัยสมาธิ และความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ถ้าหากใจร้อนหรือลุกลี้ลุกลน การเตะแต่ละครั้งก็จะเสียไป ทำให้เล่นผิดพลาดได้บ่อยๆ ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะพ่ายแพ้แก่คู่แข่งขันได้ง่าย
  7. การเล่นตะกร้อเป็นการฝึกการตัดสินใจ เพราะ ก่อนการเล่นลูกทุกครั้งจะต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทาง ความเร็ว ความแรงและลักษณะการหมุนของลูก ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจว่าต้องเล่นลูกด้วยท่าใด ส่งลูกไปยังทิศทางใด การกะระยะส่งลูก เป็นต้น
  8. การเล่นตะกร้อจะช่วยประสานหน้าที่ของอวัยวะในร่างกายให้มีระบบการทำงานดีขึ้น และเป็นการฝึกประสาทได้เป็นอย่างดี เพราะการเล่นลูกแต่ละครั้งต้องอาศัยระหว่างความสัมพันธ์ ระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ เพื่อทำให้การเตะและการเล่นลูกเป็นไปอย่างราบรื่น นิ่มนวลและได้จังหวะ ทั้งจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบ มีการแก้ไขปัญหาตลอดเวลาที่เล่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเล่นเพื่อแข่งขัน จะต้องมีการวางแผนการเล่นโดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เนื่องจากการแข่งขันจะชี้ได้ว่าใครมีเชาว์ปัญญา ปฏิภาณไหวพริบดีกว่าหรือมากกว่ากัน
  9. การเล่นตะกร้อก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งผู้เล่นและผู้ชม การ ร่วมวงเล่นตะกร้อมักจะมีการส่งเสียงแสดงความดีใจพอใจตลอดเวลาในการเล่น หรือการเตะท่าพลิกแพลงต่างๆ ของผู้เข้าร่วมวงอยู่เสมอ จึงก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้เล่นด้วยกัน รู้จักหน้าที่รับผิดชอบและให้โอกาสแก่ผู้อื่น เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีความเข้าอกเข้าใจ รู้นิสัยใจคอกันดีขึ้น ยอมรับผิดและให้อภัยกันเสมอ นับเป็นการช่วยส่งเสริมให้เข้าสังคมได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
  10. การเล่นตะกร้อนั้นเล่นได้ไม่จำกัดเวลา คือจะเล่นเวลาใดก็ได้ตามความประสงค์ของผู้เล่น ทั้งระยะเวลาในการเล่นก็ไม่กำหนดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพอใจของผู้เล่น
  11. กีฬาตะกร้อเล่นได้ไม่จำกัดสถานที่ อาจจะเป็นในร่มหรือกลางแจ้ง ทั้งสภาพของสนามก็ไม่เป็นอุปสรรคมากมายนัก ขนาดของสนามก็ยืดหยุ่นได้ไม่ตายตัวเหมือนกีฬาอื่น ๆ
  12. ตะกร้อเป็นกีฬาที่เหมาะสมกับบุคคลทุกเพศทุกวัย เพราะ เป็นกีฬาที่ไม่หนักหรือเบาจนเกินไป สามารถปรับการเล่นตามความสามารถและกำลังของผู้เล่นได้ ทั้งในด้านทักษะก็มีหลายระดับชั้น ซึ่งดูเหมือนจะท้าทายและจูงใจผู้เล่นไม่รู้จบสิ้น ผู้เล่นสามารถพัฒนาทักษะไปตามวัย นอกจากนั้นอาจเล่นเพื่อความสวยงาม เพื่อการออกกำลังกาย เพื่อการแสดง หรือเพื่อการแข่งขันก็ได้

ขั้นตอนการฝึกการเล่นตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน

1. ผู้เล่นเตรียมรับลูกที่ลอยมา โดยยืนทรงตัวแยกขาทั้งสองข้างย่อตัวลงเล็กน้อยตามองตรงไปยังลูกตะกร้อ ยกเท้าที่จะเตะให้ข้างเท้าด้านในขนานกับพื้นแล้วเตะลูกเป็นแนวตรงและเอนตัว ไปด้านหลัง (ดังรูปที่ 1 – 2)

2. เมื่อลูกที่เตะลอยขึ้น ผู้เล่นย่อเข่าข้างที่ไม่ได้เตะ ให้เท้าที่จะใช้เตะอยู่ด้านหลังเหวี่ยงเท้าข้างที่จะเตะสัมผัสลูกด้วยข้าง เท้าด้านในเพื่อส่งลูกไปตามทิศทางที่ต้องการ


การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า

หมายถึง การเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า เบาๆ ซ้ำกันหลายๆครั้ง เป็นการเตะเพื่อบังคับลูกให้อยู่ใกล้ตัวในระดับสูงเกินสะเอว หลักการฝึกเช่นเดียวกับการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า แต่มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีหลักการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า ดังนี้

  1. การเดาะลูกด้วยหลังเท้า ปลายเท้าที่เดาะลูกจะกระดกขึ้น และลูกตะกร้อจะถูกหลังเท้าค่อนไปทางปลายเท้าบริเวณโคนนิ้วเท้าทั้งห้า ใช้ปลายเท้าตวัดลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมาตรง ๆ
  2. ยกเท้าที่เดาะลูกให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
  3. ขณะที่เดาะลูกควรก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
  4. ควรฝึกเดาะลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าให้ได้ทั้งสอง


การเดาะตะกร้อด้วยเข่า

ยืนในท่าเตรียมพร้อม มือถือลูกตะกร้อโยนแล้วเดาะด้วยเข่าข้างถนัดต่อเนื่องกันจนกว่าลูกตะกร้อจะ ตกพื้น แล้วหยิบลูกตะกร้อขึ้นมาเดาะใหม่ ปฏิบัติเหมือนเดิมหลาย ๆ ครั้ง เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า การเดาะด้วยเข่าข้างที่ถนัดดีแล้ว ให้เปลี่ยนเดาะด้วยเข่าข้างที่ไม่ถนัดบ้าง หรืออาจจะสลับการเดาะด้วยเข่าทั้งสองข้างก็ได้


การเล่นตะกร้อด้วยศีรษะ

เป็นทักษะพื้นฐานที่มีความสำคัญสำหรับการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อเป็นอย่างมาก นิยมใช้ในการเปิดลูกเสิร์ฟ การรุกด้วยศีรษะ ( การเขก ) การรับ การส่ง การชงลูก หรือการตั้งลูกตะกร้อ และการสกัดกั้นหรือการบล็อกลูกจากการรุกของฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นจะต้องฝึกหัดการเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้หลาย ๆ ลักษณะ โดยเฉพาะผู้เล่นตำแหน่งหน้าซ้ายและหน้าขวา จะต้องเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้เป็นอย่างดี กีฬาตะกร้อในประเทศจีนเรียกว่าอะไร

บทความที่เกี่ยวข้อง